วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Singular & Plural นามเอกพจน์ พหูพจน์ 8 นามที่เป็นพหูพจน์เสมอ


นามต่อไปไปนี้ไม่มีรูปเอกพจน์นะครับ มีแต่รูปพหูพจน์เท่านั้น
ทำไมนะหรือ เพราะมันมีสองข้างไง เช่น กางเกง (มีสองขา) แว่นตา (มีเลนส์สองอัน)
พหูพจน์คำแปลพหูพจน์คำแปล
goodsสินค้าclothesเสื้อผ้า
trousersกางเกงขายาวpantsกางเกงขายาว
glassesแว่นตาspectaclesแว่นตา
shortsกางเกงขาสั้นscissorsกางเกงขาสั้น
wagesค่าจ้างearningsรายได้

** ตัวอย่างประโยค **
His trousers are very old but cool.
ฮิส เทราเซอส อา เวริ โอลด บัท คูล
กางเกงขายาว ของเขา เก่า มาก แต่ จ๊าบ
Her wages are too high.
เฮอ เวจเจ็ส อา ทู ไฮ
ค่าจ้าง ของ หล่อน แพง เกินไป

Singular & Plural นามเอกพจน์ พหูพจน์ 7 นามที่ไม่เปลี่ยนรูป


เอาละสิทีนี้ ทำไมไวยากรณ์ฝรั่งถึงเป็นแบบนี้ ไม่ต้องบ่นนะครับ ของไทยก็มีข้อยกเว้นหลายอย่างเหมือนกันนั่นแหละ
คำนามต่อไปนีมีไม่มีการเปลี่ยนรูป ไม่ว่าจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์
โน๊ตช่วยจำ ….. ปลา กวาง และแกะ เป็นเพื่อนกัน ทุกวันพวกมันจะเล่นน้ำกับปลาแซลมอนและปลาเฮอริง
เอกพจน์คำแปลพหูพจน์คำแปล
fishปลาfishปลาหลายตัว
deerกวางdeerกวางหลายตัว
sheepแกะsheepแกะหลายตัว
salmonปลาแซลมอนsalmonปลาแซลมอนหลายตัว
herringปลาเฮอริงherringปลาเฮอริงหลายตัว

อ้าวยุ่งละทีนี้ แล้วจะรู้ได้ไงว่ามันมีกี่ตัว??? ก็สังเกตบริบทของประโยคเอา เช่น
Fish are swimming very fast.
ฟิช อา สวิมมิง เวริ ฟาสท
ปลา หลายตัว กำลังว่าวน้ำ เร็ว มาก
A big fish is eating a worm.
อะ ฟิช อิส อีททิง อะ เวอม
ปลาตัวหนึ่ง กำลัง กิน หนอน
ข้อควรจำ และต้องจำไว้ด้วย
ten fish ปลา สิบ ตัว
ten fishes ปลา สิบ ชนิด

Singular & Plural นามเอกพจน์ พหูพจน์ 6 นามเปลี่ยนรูปภายใน


นามต่อไปนี้ไม่ได้เติม s เพื่อแสดงความเป็นพหูพจน์  แต่เป็นการเปลียนแปลงรูปสระภายใน หรือ เติม  en, ren ต่อท้าย
โน๊ตช่วยจำ….. มีผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กขี่วัวผ่านมา  พวกเขามีเท้าคล้ายห่าน และฟันคล้ายหนู นอกจากนี้ยังมีเหาเต็มหัวอีกด้วย
เอกพจน์คำแปลพหูพจน์คำแปล
manผู้ชายmenผู้ชายหลายคน
womanผู้หญิงwomenผู้หญิงหลายคน
childเด็กchildrenเด็กหลายคน
oxวัวoxenวัวหลายตัว
footเท้าfeetเท้าหลายข้าง
gooseห่านgeeseห่านหลายตัว
toothฟันteethฟันหลายซี่
mouseหนูmiceหนูหลายตัว
louseเหาliceเหาหลาตัว
ข้อพึงระวัง
man อ่านว่า แมน
men อ่านว่า เม็น
woman อ่านว่า วู๊เมิน
women อ่านว่า วีมิน

**ตัวอย่างประโยค **

That tall man is my brother.
แด็ท ทอล แมน อิส มาย บรัธเธอะ
ชาย ตัวสูงๆ คนนั้น คือ พี่ชาย ของฉัน
She has three teeth.
ชี แฮส ธรี ทีธ
หล่อน มี ฟัน สาม ซี่

Singular & Plural นามเอกพจน์ พหูพจน์ 5 นามลงท้ายด้วย y


คำนามที่ลงท้ายด้วย  y แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. ถ้าหน้า  y เป็นสระ ( a, e, i, o, u)  ให้เติม  s  ได้เลย
เอกพจน์คำแปลพหูพจน์คำแปล
dayวันdaysหลายวัน
toyของเล่นtoysของเล่นหลายชิ้น
keyลูกกุญแจkeysลูกกุญแจหลายดอก
monkeyลิงmonkeyลิงหลายตัว

2. ถ้าหน้า  y เป็นพยัญชนะ (นอกเหนือจาก a, e, i o, u ) ให้เปลี่ยน  y  เป็น i แล้วเติม es
เอกพจน์คำแปลพหูพจน์คำแปล
babyทารกbabiesทารกหลายคน
cityเมืองcitiesหลายเมือง
countryประเทศcountriesหลายประเทศ
flyแมลงวันfliesแมลงวันหลายตัว
ladyสุภาพสตรีladiesสุภาพสตรีหลายคน

คำแบบนี้มีเยอะนะครับ แต่ก็ใช้หลักการนี้เป๊ะเลย ไม่เปลี่ยนแปลง

**ตัวอย่างประโยค **

Two monkeys are playing.
ทู มังคีส อา พเลยิง
ลิงสองตัว กำลังเล่น
This city is very clean.
ดิส ซิททิ อิส เวริ คลีน
เมืองนี้ สะอาด มาก

Singular & Plural นามเอกพจน์ พหูพจน์ 4 นามลงท้ายด้วย f, fe


เอาละ มาถึงคำนาม เอกพจน์ พหูพจน์ ตอนที่ 4 กันเล้ว ก็จะยากขึ้นเป็นลำดับนะครับ แต่อย่างไรเสียก็ขอให้หมั่นทบทวนดีๆ แล้วจะจำได้เองครับ ไม่ต้องฝืนเอาเป็นเอาตาย ให้เีรียนแบบสบายๆ แต่ตั้งใจแล้วกัน
นามที่ลงท้ายด้วย f, fe ต่อไปนี้ให้เปลี่ยน f, fe เป็น v แล้วเติม es
โน๊ตช่วยจำ… เมียนายพรานหยิบมีดจากชั้นวางของ เพื่อนำไปสังหารชีวิตของหมาป่าที่แอบกินลูกวัว เสร็จแล้วเอาใบไม้คลุมหมาป่าไว้
เอกพจน์คำแปลพหูพจน์คำแปล
wifeเมียwivesเมียหลายคน
knifeมีดknivesมีดหลายเล่ม
shelfชั้นวางของshelvesชั้นวางของหลายหลัง
lifeชีวิตlivesหลายชีวิต
wolfหมาป่าwolvesหมาป่าหลายตัว
calfลูกวัวcalvesลูกวัวหลายตัว
leafใบไม้leavesใบไม้หลายใบ

** แต่คำเหล่านี้ ให้เติม s ต่อท้ายเท่านั้น

โน๊ตช่วยจำ…..หัวหน้าแก๊งค์จะขโมยตู้เซฟจากธนาคารที่ตั้งอยู่ใกล้ปากอ่าว แต่ในขณะที่กำลังปีนหลังคาอยู่นั้น เขาก็ตกลงสู่หินโสโครกด้านล่าง ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าเขาไม่ควรเป็นหัวหน้าเลย
เอกพจน์คำแปลพหูพจน์คำแปล
chiefหัวหน้าchiefsหัวหน้าหลายคน
safeตู้เซฟsafesตู้เซฟหลายตู้
gulfอ่าวgulfsหลายอ่าว
roofหลังคาroofsหลายหลังคา
reefหินโสโครกreefsหินโสโครกหลายที่
proofข้อพิสูจน์proofsข้อพิสูจน์หลายข้อ

แต่คำเหล่านี้สามารถเปลี่ยน f เป็น v แล้วเติม  es  หรือเติม s ได้เลย
scalf = scalfs, scalves สกาลฟส
staff = staffs, staves  สตาฟส
แต่ที่เห็นนิยมใช้กันส่วนใหญ่คือ เติม s เฉย ๆ

** ตัวอย่างการนำไปใช้  **

His wife put two knives on the shelf.
ฮิส ไวฟ พุท ทู ไนฟส ออน เดอะ เช็ลฟ
เมีย ของเขา วาง มีด สองเล่ม บน ชั้นวางของ
The chief is running for his life.
เดอะ ชีฟ อิส รั๊นนิง ฟอ ฮิส ไลฟ
หัวหน้า กำลัง วิ่งหนี อย่างไม่คิดชีวิต

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Singular & Plural 9 นามลงท้ายด้วย s แต่เป็นเอกพจน์

Singular & Plural 9 นามลงท้ายด้วย s แต่เป็นเอกพจน์
นามต่อไปไปนี้ลงท้ายด้วย s แต่เป็นเอกพจน์เฉยเลย
เอามาให้ดูเฉพาะที่เห็นใช้บ่อยนะครับ
คำศัพท์คำแปล
newsข่าว
politicsการเมือง
statisticsสถิติ
economicsเศรษฐศาสตร์
physicsวิชาฟิสิกส์

** ตัวอย่างประโยค **
Divorce statistics has been increasing sine 1990.
สถิติการอย่าร้างได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1990
News about  the end of the world is spreading quickly.
ข่าวเกี่ยวกับวันอวสานโลกได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว

Singular & Plural 10 นามพหูพจน์ที่คล้ายเอกพจน์

Singular & Plural 10 นามพหูพจน์ที่คล้ายเอกพจน์
คำนามต่อไปนี้ดูๆ คล้ายเอกพจน์ แต่เขาเป็นพหูพจน์นะครับ ดูดีๆ ว่ามีอะไรบ้าง
คำศัพท์คำแปล
majorityคนส่วนใหญ่
cattleวัวควาย
policeตำรวจ
minorityคนส่วนน้อย
poultryเป็ดไก่
peopleประชาชน

The rich  บรรดาคนรวยนอกจากนี้แล้ว ยังมีการเอาคำคุณศัพท์มาทำเป็นคำนามพหูจน์อีกด้วย เช่น
The poor บรรดาคนจน
** ตัวอย่างประโยค **
The majority in this country are rich.
คนส่วนใหญ่ในประเทศนี้รวย
People are waiting for help from the government.
ประชาชนต่างรอความช่วยเหลือจากรัฐบาล

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ หลักไวยากรณ์เบื้องต้นจนเก่งระดับสูง

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ หลักไวยากรณ์เบื้องต้นจนเก่งระดับสูง

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษกับคำถามที่ถามบ๊อยบ่อย

  • ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษยากไหม
  • หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นมีอะไรบ้าง
  • โครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษซับซ้อนแค่ไหนกัน
  • และอื่น ๆ……จิปาถะ
คำตอบคือ อย่าถามมากแต่ศึกษาให้มากจะรู้เอง อิ ๆ ล้อเล่นคร้าบ การเรียนไวยากรณ์นั้นเหมือนกับการทำอะไรต่อมิอะไรละครับ เอ้าเป็นงัยเล่า อ้าวก็เริ่มจากระดับง่าย ๆ ก่อนไง เหมือนกับการขึ้นตึกสิบชั้น ต้องเิ่ริ่มที่บันไดขั้นแรกแล้วไปทีละก้าวนั่นแหละ (ยกเว้นขึ้นลิฟต์)
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเนี่ยเป็นอะไรที่นักเรียนไม่ชอบเอาเสียเลย สาเหตุเพราะหลายคนคิดว่าย๊ากยาก มันก็เลยยากอย่างที่เราคิดจริง ๆ ด้วย เพราะเมื่อเราคิดดังนั้น เราก็ไม่คิดที่จะศึกษากันอย่างจริง ๆ จัง แล้วก็ไม่รู้เรื่องอะไรเลย แต่ถ้าเราคิดว่ามันคงไม่ยากหรอก ถ้ายากคงไม่มีใครเรียนรู้เรื่องเป็นแน่แท้ หากเรามีความคิดเช่นนี้ สมองก็จะสั่งการว่าคนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้ ฮ่า ๆ และเราก็ทำได้จริง ๆ ด้วย
มีคำพูดหนึ่งที่ทุกคนควรเอาอย่างคือ “อะไรก็ตามแต่ที่มนุษย์คนหนึ่งทำได้ มนุษย์คนอื่นก็ทำได้ด้วย”

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษยากไหมคะ

อย่างที่บอกครับ มันไม่มีอะไรยากหรือง่ายจนเกิน ถ้ามันยากทุกคนก็ทำไม่ได้ ถ้ามันง่ายทุกคนก็ทำได้สิครับ มันเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ถ้าลงมือทำ การเดินทางออกนอกโลกเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เขาก็ทำมาแล้ว นับประสาอะไรกับเรื่องแค่นี้  วิธีการคือควรเริ่มเรียนรู้จากอันง่าย ๆ ทำความเข้าใจจากระดับพื้นฐาน หรือระดับเบสิกนั่นแหละ นักเรียนส่วนใหญ่ที่เห็นว่าไวยากรณ์เป็นเรื่องยาก ก็เพราะว่าไปเรียนอันที่มันยาก ๆ มันก็ยากซิครับ เหมือนกับให้เด็กน้อยยกกระสอบข้าวไง เด็กที่ไหนจะยกได้ เมื่อทำไม่ได้ก็ท้อและไม่สนใจในที่สุด สุดท้ายก็เกลียดมันไปเลย
เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามแต่ถ้าเราลองทำแล้วคิดว่ามันยากเกินกำลัง ก็ให้หาสิ่งที่เราคิดว่าเราพอเีรียนรู้เรื่อง แล้วก็ทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งก่อน แล้วค่อยทำในสิ่งที่มันยากขึ้นไป วันหนึ่งหากเราไปถึงยอดเขาและมองลงมา เราก็จะมีความภูมิใจว่า เฮ้อมันก็ไม่ได้ยากเท่าไหร่นี่นา

หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้ืองต้นมีอะไรบ้าง

ถ้านักเรียนเดินเข้าไปในร้านหนังสือ และลองเปิดดูหนังสือไวยากรณ์สักเล่มซิ บางเล่มหนาเตอะเลย อันนี้เค้าเขียนละเอียดถึงขนาดที่ว่าเจ้าของภาษาเองก็ไม่ได้เรียนลึกขนาดนี้  เปรียบเทียบกับไวยากรณ์ไทยก็ได้ จะมีสักกี่คนที่จะเรียนเจาะลึกลงไปจริงๆ ไม่ค่อยมีหรอก เพราะฉะนั้นให้เรียนเฉพาะที่จำเป็น ๆ ก่อน แล้วค่อยเจาะลึกลงไปอีกที ถ้าเราจะศึกษาในแขนงนั้น ๆ
หลักไวยากรณ์เบื้องต้นที่นักเรียนควรเรียนรู้ให้เข้าใจนั้นต้องตอบคำถามความแตกต่างของภาษาอังกฤษและภาษาไทยต่อไปนี้ได้
  • คำนามต่างกันอย่างไร
  • ทำไมกริยาถึงมีสามช่อง เอาไปใช้อย่างไร
  • เวลามีความเกี่ยวข้องกับคำโครงสร้างภาษาอย่างไร
ถ้าตอบคำถามง่าย ๆ นี้ได้แสดงว่าพอเข้าใจหลักภาษาแล้วละครับ

โครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษซับซ้อนไหม

เฮ้อ….นี่แหละสิ่งที่อยากจะบอกว่าให้ใจเย็น ๆ ให้เรียนให้เข้าใจ และค่อยเป็นไป ซึ่งโครงสร้างในที่นี้คือ โครงสร้างของ Tense นั่นแหละ มันมีโครงสร้าง 12 อันก็จริง แต่ว่าที่ใช้บ่อย ก็มีแค่ 5-6 อันเองแหละ ที่เหลือเรียนให้รู้ก็พอ เพราะไม่ค่อยได้ใช้กันเลย
เรื่อง Tense เป็นจุดที่สำคัญที่สุดของหลักภาษาอังกฤษ และเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เพราะเกี่ยวเนื่องกับเวลาโดยตรง คล้ายกับภาษาบาลี หากใครเคยเรียนก็จะรู้
การทำความเข้าใจเรื่อง Tense ต้องใช้เวลานิดหนึ่ง ใช้จินตนาการหน่อย และยอมรับความแตกต่างระหว่างภาษาให้ได้ แค่นี้เองครับ

Active & Passive Voice

ประโยค Active Voice คือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำกริยา เช่น
John eats bread. (John ทานขนมปัง)
ประธานของประโยคนี้ คือ John ซึ่งเป็นผู้กระทำกริยา eats
ประโยค Passive Voice คือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำด้วยกริยา เช่น
Bread is eaten by John. (ขนมปังถูกทานโดย John)
ประธานของประโยคนี้ คือ Bread ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำกริยา eats โดย John
เราจะใช้ประโยค Passive Voice แทน Active Voice
เมื่อเราต้องการ เน้นผู้ถูกกระทำหรือเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ไม่ทราบว่าผู้กระทำเป็นผู้ใด เช่น
เมื่อปากกาเราถูกขโมย เรามักจะพูดว่า
My pen was stolen. (ปากกาของฉันถูกขโมยไปแล้ว)
เราไม่นิยมพูดว่า A thief stole my pen. (ขโมยได้ขโมยปากกาของฉันไปแล้ว)
หลักในการเปลี่ยนประโยค Active Voice เป็น Passive Voice
1. นำกรรมของประโยค Active Voice มาเป็นประธานของประโยค Passive Voice เช่น
Active Voice : John eats bread.
=> Passive Voice : Bread is eaten by John.
2. เปลี่ยนคำกริยาของประโยค Active Voice เป็นช่องที่ 3 และจะต้องมี Verb to be อยู่หน้าคำกริยานั้นเสมอ
(จะใช้ Verb to be ตัวใด ขึ้นอยู่กับประธานของประโยค Passive Voice
และ Tense ของคำกริยาตัวเดิมใน Active Voice) เช่น
Active Voice : John eats bread.
=> Passive Voice : Bread is eaten by John.
*** ใช้ is eaten เพราะประธานของ Passive Voice เป็นนามนับไม่ได้ และคำกริยาของ Active Voice เป็นช่อง 1 (eats)
3. นำประธานของประโยค Active Voice ไปเป็นกรรมของประโยค Passive Voice โดยมีคำว่า by นำหน้า เช่น
Active Voice : John eats bread.
=> Passive Voice : Bread is eaten by John.
** ถ้าประธานของประโยค Active Voice เป็นคำสรรพนาม (Pronouns)
เมื่อเปลี่ยนไปเป็นกรรมของประโยค Passive Voice
จะต้องเปลี่ยนรูปเป็นกรรมตามไปด้วย เช่น
Active Voice : He ate bread.
=> Passive Voice : Bread was eaten by him.
การเขียนประโยค Passive Voice
ให้คำนึงถึง คำกริยาในประโยค Active Voice ใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ถ้าในประโยค Active Voice มี คำกริยาช่วยกับคำกริยาแท้
เมื่อเขียนเป็นประโยค Passive Voice ส่วนที่เป็นกริยาจะประกอบด้วย
คำกริยาช่วย + be + คำกริยาช่องที่ 3
เช่น
Active Voice : Jenny can drive a car.
=> Passive Voice : A car can be driven by Jenny.
Active Voice : He will drink coffee.
=> Passive Voice : Coffee will be drunk by him.
Active Voice : She has to speak English. (has to หรือ have to มีความหมายว่า "จำเป็นต้อง")
=> Passive Voice : English has to be spoken by her.
Active Voice : Mark ought to do homework this evening.
(ought to มีความหมายว่า "ควร/ควรจะ")
=> Passive Voice : Homework ought to be done by Mark this evening.
2. ถ้าในประโยค Active Voice มี เฉพาะคำกริยาแท้ ไม่มีคำกริยาช่วย
เมื่อเขียนเป็นประโยค Passive Voice ส่วนที่เป็นกริยาจะประกอบด้วย
Verb to be + คำกริยาช่องที่ 3
โดยส่วนที่เป็น Verb to be นั้น
จะเปลี่ยนรูปไปตามคำกริยาแท้ในประโยค Active Voice
เช่น
Active Voice : Jenny ate rice.
=> Passive Voice : Rice was eaten by Jenny.
(Verb to be ใช้ was เพราะคำกริยาใน Active Voice เป็นช่องที่ 2 = ate
และประธานของประโยค Passive Voice เป็นนามนับไม่ได้ = Rice)
Active Voice : Mark does homework everyday.
=> Passive Voice : Homework is done by Mark everyday.
(Verb to be ใช้ is เพราะคำกริยาใน Active Voice เป็นช่องที่ 1 = does
และประธานของประโยค Passive Voice เป็นนามนับไม่ได้ = Homework)
Active Voice : She is making a doll.
=> Passive Voice : A doll is being made by her.
(Verb to be ใช้ is being
เพราะคำกริยาใน Active Voice เป็นรูปปัจจุบันกำลังกระทำ = is making
และประธานของประโยค Passive Voice เป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 = A doll)
Active Voice : He was making dolls.
=> Passive Voice : Dolls were being made by him.
(Verb to be ใช้ were being
เพราะคำกริยาใน Active Voice เป็นรูปอดีตกำลังกระทำ = was making
และประธานของประโยค Passive Voice เป็นพหูพจน์บุรุษที่ 3 = Dolls)
คลิกที่นี่หากต้องการทำแบบทดสอบ

การใช้ some และ any

การใช้ some และ any
@@@@@@@@@@
ทั้ง some และ any มีความหมายว่า "บ้าง" แต่ใช้แตกต่างกันดังนี้ 
1. some ใช้กับประโยคบอกเล่า ใช้ได้ทั้งกับนามนับได้และนามนับไม่ได้ 
เช่น
I have some pens. (ฉันพอจะมีปากกาบ้าง)
John wants some water. (John ต้องการน้ำบ้าง)
There are some books on the table. (มีปากกาอยู่บนโต๊ะบ้าง)
There is some sugar in the bowl. (มีน้ำตาลทรายอยู่ในชามบ้าง)
2. any ใช้กับ
2.1 ประโยคปฏิเสธ ใช้ได้ทั้งกับนามนับได้และนามนับไม่ได้ แต่ความหมายจะเปลี่ยนเป็น
"ไม่ ______ เลย" เช่น
I don't have any pens. (ฉันไม่มีปากกาเลยสักด้าม)
John doesn't want any water. (John ไม่ต้องการน้ำเลย)
There aren't any pencils under the table. (ไม่มีดินสออยู่ใต้โต๊ะเลยสักแท่ง)
There isn't any tea in the cup. (ไม่มีน้ำชาอยู่ในถ้วยเลย)
2.2 ประโยคคำถาม ใช้ได้ทั้งกับนามนับได้และนามนับไม่ได้ แต่ความหมายจะเปลี่ยนเป็น
"_______ บ้างไหม" เช่น
Do you have any pens? (คุณมีปากกาบ้างไหม)
Does John want any water? (John ต้องการน้ำบ้างไหม)
Are there any books in the schoolbag? (มีหนังสืออยู่ในกระเป๋าเรียนบ้างไหม) 
Is there any coffee in the cup? (มีกาแฟอยู่ในถ้วยบ้างไหม)

อ่านภาษาอังกฤษอย่างไรให้พอเข้าใจ




คลิกเรื่องที่ต้องการศึกษา

Direct Speech


ำคำพูดของใครไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง อาจมีวิธีพูดได้ 2 วิธี คือ
1. โดยยกคำพูดจริง ๆ ของผู้พูดไปเล่าให้ฟังทั้งหมดโดยไม่เปลี่ยนแปลง เรียกว่า Direct Speech เช่น
John said, "I like Mathematics."
ข้อความว่า "I like Mathematics" เป็น Direct Speech
2. โดยดัดแปลงเป็นคำพูดของผู้เล่าเอง เรียกว่า Indirect Speech หรือ Reported Speech เช่น
John said (that) he liked Mathematics.
ข้อความว่า "he liked Mathematics" ดัดแปลงมาจากคำพูดของ John ที่พูดว่า "I like Mathematics"
ดังนั้นข้อความนี้จึงเป็น Indirect Speech หรือ Reported Speech
คำกริยาที่ใช้กับ Reported Speech เรียกว่า กริยานำ (Reporting Verbs หรือ Introducing Verbs) เช่น
1. say (said) = พูดว่า
2. know (knew) = รู้ว่า
3. hope (hoped) = หวังว่า
4. think (thought) = คิดว่า
เช่น
(1) John said, "I like Mathematics."
(2) John said (that) he liked Mathematics.
คำกริยา said ในประโยค (1) เรียกว่า กริยานำ (Reporting Verb หรือ Introducing Verb)
ข้อความว่า (that) he liked Mathematics ในประโยค (2) เรียกว่า คำเล่า (Indirect Speech หรือ Reported Speech)
Reported Speech มี 3 แบบใหญ่ ๆ คือ
1. Reported Statement (บอกเล่าและปฏิเสธ)
2. Reported Request and Command (ขอร้องและคำสั่ง)
3. Reported Questions (คำถาม)
ซึ่งมีวิธีการเปลี่ยนจาก Direct Speech เป็น Reported Speech ที่แตกต่างกันดังนี้
1. Reported Speech แบบ Reported Statement
มีวิธีการเปลี่ยนจาก Direct Speech เป็น Reported Speech ดังนี้
(1) ตัดเครื่องหมาย comma (,) ออก
(2) จะเติม that หลัง Reporting Verbs หรือไม่ก็ได้
(3) ตัดเครื่องหมายคำพูด (Quotation mark) ออก
(4) เปลี่ยนสรรพนามในคำพูดให้เข้ากับผู้พูด
(5) เปลี่ยน Tense ของคำกริยาในคำพูดให้เข้ากับ Reporting Verbs ซึ่งมี 2 แบบใหญ่ ๆ ดังนี้
5.1 ถ้ากริยานำเป็นปัจจุบัน (Present) ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง Tense ใน Reported Speech เช่น
Direct Speech : John says, "I like Mathematics."
=>Reported Speech : John says (that) he likes Mathematics.
(like และ likes เป็นคำกริยาช่องที่ 1 = Present Simple Tense ทั้งคู่)
5.2 ถ้ากริยานำเป็นอดีต (Past) ต้องเปลี่ยนแปลง Tense ใน Reported Speech ดังนี้
1) Present Simple Tense เปลี่ยนเป็น Past Simple Tense เช่น
Direct Speech : John said, "I like Mathematics."
=> Reported Speech : John said (that) he liked Mathematics.
2) Present Continuous Tense เปลี่ยนเป็น Past Continuous Tense เช่น
Direct Speech : Jenny said, "I am not going to Bangkok."
=> Reported Speech : Jenny said (that) she was not going to Bangkok.
3) Present Perfect Tense เปลี่ยนเป็น Past Perfect Tense เช่น
Direct Speech : Tom said, "I have finished my work."
=> Reported Speech : Tom said (that) he had finished his work.
4) Past Simple Tense เปลี่ยนเป็น Past Perfect Tense เช่น
Direct Speech : Malee said, "I went to Bangkok."
=> Reported Speech : Malee said (that) she had gone to Bangkok.
5) will เปลี่ยนเป็น would เช่น
Direct Speech : John and Tom said, "We will go to Bangkok."
=> Reported Speech : John and Tom said (that) they would go to Bangkok.
6) shall เปลี่ยนเป็น should เช่น
Direct Speech : They said, "We shall go to Bangkok."
=> Reported Speech : They said (that) they should go to Bangkok.
7) can เปลี่ยนเป็น could เช่น
Direct Speech : Jim said, "I can't speak Thai."
=> Reported Speech : Jim said (that) he couldn't speak Thai.
8) may เปลี่ยนเป็น might เช่น
Direct Speech : Peter said, "I may not go to Bangkok."
=> Reported Speech : Peter said (that) he might not go to Bangkok.
9) must เปลี่ยนเป็น had to เช่น
Direct Speech : My mother said, "I must go to Bangkok."
=> Reported Speech : My mother said (that) she had to go to Bangkok.
ข้อควรจำเพิ่มเติม
1. ถ้าใน Direct Speech มีคำหรือข้อความที่เป็นเวลาให้เปลี่ยนดังนี้
Direct Speech => Reported Speech
now => then
today => that day
yesterday => the day before / the previous day
tonight => that night
tomorrow => the next day / the following day
next (week) => the following (week)
ago => before
last (week) => the previous (week)
the day before yesterday => earlier / two days before
the day after tomorrow => later in two day's time / two days after
a year ago => a year before / the previous year
2. ถ้าใน Direct Speech มีคำหรือข้อความที่แสดงความใกล้-ไกลให้เปลี่ยนดังนี้
Direct Speech => Direct Speech
here => there
this => that
these => those
2. Reported Speech แบบ Reported Request and Command
การเปลี่ยนประโยคขอร้อง ขออนุญาต หรือคำสั่ง (Request or Command) เป็น Reported Speech มีวิธีการเปลี่ยน Tense คำหรือข้อความบอกเวลา และคำหรือข้อความที่บ่งบอกความใกล้-ไกล เหมือนกับ Reported Statement แต่มีที่แตกต่างกัน คือ
(1) ใช้กริยานำ คือ tell/told (บอก), order/ordered (สั่ง), ask/asked (ขอร้อง), command/commanded (สั่ง)
(2) ใช้ (not) to เป็นตัวเชื่อม
(3) ถ้า Direct Speech ไม่มีกรรม (object) ให้เติมกรรมลงไปใน Reported Speech ด้วย
(4) ถ้ามีคำว่า Please ให้ตัดออก
เช่น
Direct Speech : He said, "Please don't make aloud noise."
=> Reported Speech : He told him not to make aloud noise.
(1) เปลี่ยนกริยานำจาก said เป็น told
(2) ใช้ not to เป็นตัวเชื่อมเพราะ Direct Speech เป็นปฏิเสธ (don't)
(3) เติมกรรม (him) เพราะ Direct Speech ไม่มีกรรม
(4) ตัดคำว่า Please ออก
Direct Speech : She told us, "Come to the party tomorrow."
=> Reported Speech : She told us to come to the party the following day.
(1) ใช้กริยานำว่า told เพราะ Direct Speech ใช้ told
(2) ใช้ to เป็นตัวเชื่อมเพราะ Direct Speech เป็นบอกเล่า (Come)
(3) ใช้คำว่า us เป็นกรรมเพราะ us เป็นกรรมของกริยา told อยู่แล้ว
(4) เปลี่ยน tomorrow เป็น the following day
Direct Speech : She asked her father, "Let me go to Chiangrai with Ludda."
=> Reported Speech : She asked her father to let her go to Chiangrai with Ludda.
(1) ใช้กริยานำว่า asked เพราะ Direct Speech ใช้ asked
(2) ใช้ to เป็นตัวเชื่อมเพราะ Direct Speech เป็นบอกเล่า (Let)
(3) เปลี่ยนกรรมจากคำว่า me เป็น her เพราะเป็นคำพูดของผู้หญิง (She)
3. Reported Speech แบบ Reported Question
การเปลี่ยนประโยคคำถาม (Question) เป็น Reported Speech มีวิธีการเปลี่ยน Tense คำหรือข้อความบอกเวลา และคำหรือข้อความที่บ่งบอกความใกล้-ไกลเหมือนกับ Reported Statement แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของคำถาม คือ
(1) ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วยกริยาช่วย (Yes/No Questions)เมื่อเปลี่ยนเป็น Reported Speech ให้ทำดังนี้
1.1 ใช้กริยานำ คือ ask/asked (ถามว่า),
inquire/inquired (ถามว่า),
wonder/wondered (สงสัยว่า, อยากรู้ว่า),
want to know/wanted to know (อยากรู้ว่า)
1.2 ใช้ if หรือ whether เป็นตัวเชื่อม มีความหมายว่า "ใช่หรือไม่" (จะใช้คำใดก็ได้)
1.3 เรียงคำในประโยคให้อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า
เช่น
Direct Speech : They asked, "Can we leave now?"
=> Reported Speech : They asked if they could leave then.
(1) ใช้กริยานำว่า asked เพราะประโยคที่มี Direct Speech มีกริยานำว่า asked อยู่แล้ว
(2) ใช้ if เป็นตัวเชื่อม
(3) เปลี่ยนคำบอกเวลาจากคำว่า now เป็น then
(4) เปลี่ยน we เป็น they เพราะผู้พูดคือ They
(5) เรียงคำที่เปลี่ยนจาก Direct Speech ให้อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า คือ ประธาน + กริยา + ….……
(จากเดิม Can we …..…. เป็น They could ………)
Direct Speech : She said to me, "Does Jim like Thai food?"
=> Reported Speech : She asked me whether Jim liked Thai food.
(1) เปลี่ยนกริยานำจาก said เป็น asked
(2) ใช้ whether เป็นตัวเชื่อม
(3) เปลี่ยน like จากช่องที่ 1 เป็นช่องที่ 2 คือ liked
(4) เรียงคำที่เปลี่ยนจาก Direct Speech ให้อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า คือ ประธาน + กริยา + ….……
(จากเดิม Does Jim like …..…. เป็น Jim liked ………)
2. ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Question words (Wh- Questions) เมื่อเปลี่ยนเป็น Reported Speech ให้ทำดังนี้
2.1 ใช้กริยานำ คือ ask/asked (ถามว่า),
inquire/inquired (ถามว่า),
wonder/wondered (สงสัยว่า, อยากรู้ว่า),
want to know/wanted to know (อยากรู้ว่า)
2.2 ใช้ Question words เป็นตัวเชื่อม
2.3 เรียงคำในประโยคให้อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า
เช่น
Direct Speech : They asked, "Who can speak English?"
=> Reported Speech : They asked who could speak English.
(1) ใช้กริยานำว่า asked เพราะประโยคที่มี Direct Speech มีกริยานำว่า asked อยู่แล้ว
(2) ใช้ who เป็นตัวเชื่อม เพราะ who เป็น question word
(3) เปลี่ยน can เป็น could
(4) ข้อความใน Direct Speech เรียงคำอยู่ในรูปของประโยคบอกเล่าอยู่แล้ว คือ ประธาน + กริยา + ……
จึงคัดลอกลงใน Reported Speech ได้เลย
Direct Speech : She said to me, "When will Jim go to Japan?"
=> Reported Speech : She asked me when Jim would go to Japan.
(1) เปลี่ยนกริยานำจาก said เป็น asked
(2) ใช้ when เป็นตัวเชื่อม เพราะ when เป็น question word
(3) เปลี่ยน will เป็น would
(4) เรียงคำที่เปลี่ยนจาก Direct Speech ให้อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า คือ ประธาน + กริยา + ….……
(จากเดิม will Jim go …..…. เป็น Jim would go ………)

Tag Questions



Tag Questions เป็นประโยคคำถามอีกประเภทหนึ่งที่ใช้เมื่อผู้พูดมีความมั่นใจในการกล่าวครั้งแรก
แต่ก็ยังคงมีความไม่แน่ใจอยู่บ้างเล็กน้อย จึงกล่าวเป็นคำถามต่อจากการกล่าวครั้งแรก เช่น
You are John, aren't you? (คุณคือจอห์นไม่ใช่หรือ)
= ผู้พูดมีความมั่นใจว่า ผู้ที่พูดด้วยคือจอห์นแต่ถามย้ำอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า ใช่หรือไม่
Tag Questions จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. ส่วนหน้าหรือประโยคนำ
2. ส่วนท้าย หรือ Tag
เช่น
You are John, aren't you?
(1) ส่วนหน้าหรือประโยคนำ คือ You are John
(2) ส่วนท้าย หรือ Tag คือ aren't you
He isn't a singer, is he?
(1) ส่วนหน้าหรือประโยคนำ คือ He isn't a singer
(2) ส่วนท้าย หรือ Tag คือ is he

การตอบคำถาม Tag Questions

จะตอบเหมือนการตอบ Yes / No Questions ทั่วไป
แต่แตกต่างกันตรงที่คำถามแบบ Tag Questions เป็นคำถามที่ผู้ถามคิดว่าตนทราบคำตอบอยู่แล้ว
ส่วนหน้าหรือประโยคนำจึงแสดงถึงความคิดหรือความเข้าใจของผู้ถามดังนี้
1. ถ้าผู้ถามคาดว่าจะได้คำตอบว่า Yes
จะใช้ส่วนหน้าหรือประโยคนำเป็นข้อความที่เป็นบอกเล่า เช่น
You are John, aren't you? (คุณคือจอห์นไม่ใช่เหรอ)
= ผู้ถามคาดว่าผู้ที่พูดด้วยคือจอห์น และจะต้องได้คำตอบว่า Yes แน่นอน
2. ถ้าผู้ถามคาดว่าจะได้คำตอบว่า No
จะใช้ส่วนหน้าหรือประโยคนำเป็นข้อความที่เป็นปฏิเสธ เช่น
John isn't a singer, is he? (จอห์นไม่เป็นนักร้องใช่มั้ย)
= ผู้ถามคาดว่าจอห์นไม่เป็นนักร้อง และจะต้องได้คำตอบว่า No แน่นอน

หลักการสร้าง Tag Questions มีดังนี้

1. ถ้าส่วนหน้าหรือประโยคนำเป็นข้อความบอกเล่าส่วนท้ายจะต้องเป็นปฏิเสธ
เช่น
She is playing with John, isn't she?
2. ถ้าส่วนหน้าหรือประโยคนำเป็นข้อความปฏิเสธส่วนท้ายจะต้องเป็นบอกเล่า
เช่น
John isn't a singer, is he?
3. ใส่เครื่องหมาย Comma (,) คั่นระหว่างส่วนหน้ากับส่วนท้าย
เช่น
He is playing with Jenny, isn't he?
4. ประธานของส่วนท้ายจะต้องเป็นคำสรรพนามที่เป็นรูปประธานเสมอ
เช่น
John isn't a singer, is he?
5. ถ้าคำกริยาในส่วนท้ายเป็นปฏิเสธคำกริยานั้นจะต้องเป็นรูปย่อเสมอ
เช่น
They are playing with John, aren't they?
6. ถ้าส่วนหน้าเป็น I am ส่วนท้ายจะต้องเป็น aren't I
เช่น
I am playing with John, aren't I?

คำกริยาในส่วนท้าย (Tag) จะต้องสอดคล้องกับคำกริยาในส่วนหน้า (ประโยคนำ)

โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. ถ้าในส่วนหน้าหรือประโยคนำมี Verb to be คำกริยาในส่วนท้าย (Tag) ก็จะต้องเป็น Verb to be
เช่น
You are John, aren't you?
They weren't in their room, were they?
2. ถ้าในส่วนหน้าหรือประโยคนำมีคำกริยาช่วย คำกริยาในส่วนท้าย (Tag) ก็จะต้องเป็นคำกริยาช่วย
เช่น
You will go to Bangkok tomorrow, won't you?
They won't go to Chiangmai next week, will they?
John can't speak Thai, can he?
Jenny can speak Chinese, can't she?
3. ถ้าในส่วนหน้าหรือประโยคนำ ไม่มี Verb to be หรือคำกริยาช่วย มีแต่คำกริยาแท้ คำกริยาในส่วนท้าย (Tag) จะต้องเป็น Verb to do 
เช่น
You walk to school, don't you?
ส่วนท้าย (Tag) ใช้ don't เพราะ
(1) ส่วนหน้า (ประโยคนำ) เป็นประโยคปัจจุบันกาลธรรมดาในรูปบอกเล่า
(คำกริยาเป็นช่อง 1 = walk)
และ
(2) ประธานเป็นบุรุษที่ 2 (You)
John doesn't speak Thai, does he?
ส่วนท้าย (Tag) ใช้ does เพราะ
(1) ส่วนหน้า (ประโยคนำ) เป็นประโยคปัจจุบันกาลธรรมดาในรูปปฏิเสธ
(ส่วนของกริยาเป็น doesn't + คำกริยาช่อง 1 = speak)
และ
(2) ประธานเป็นบุรุษที่ 3 (John เปลี่ยนเป็น he)
Jenny wrote a letter to Joe last night, didn'tshe?
ส่วนท้าย (Tag) ใช้ didn't เพราะ
ส่วนหน้า (ประโยคนำ) เป็นประโยคอดีตกาลธรรมดาในรูปบอกเล่า
(คำกริยาเป็นช่อง 2 = wrote)
Mark didn't write a letter to Joe last night,did he?
ส่วนท้าย (Tag) ใช้ did เพราะ
ส่วนหน้า (ประโยคนำ) เป็นประโยคอดีตกาลธรรมดาในรูปปฏิเสธ
(ส่วนของกริยาเป็น didn't + คำกริยาช่อง 1 = write)
คลิกที่นี่หากต้องการทำแบบทดสอบ

Defining Relative Clauses



Defining Relative Clauses
คือข้อความที่ทำหน้าที่คล้ายคำคุณศัพท์ (Adjectives) เพื่อไปขยายนามที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ใจความสมบูรณ์และชัดเจนขึ้นว่า เป็นคนไหน สิ่งไหน ของใคร เป็นต้น หากไม่มี Defining Relative Clauses มาขยาย นามที่กล่าวถึงนั้นก็จะไม่เจาะจง จะเป็นการกล่าวขึ้นมาลอย ๆ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ฟัง
เข้าใจได้ไม่กระจ่าง อาจจะต้องซักถามต่อไปอีกว่า เป็นใคร สิ่งไหน หรือของใคร
เช่น
The man was killed. (ผู้ชายถูกฆ่า)
จากประโยคนี้ ผู้ฟังจะไม่ทราบเลยว่าผู้ชายคนไหนที่ถูกฆ่าแต่ถ้าเพิ่ม Defining Relative Clause เข้าไปที่หลัง the man จะทำให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น
เพราะทำให้ทราบว่าเป็นผู้ชายคนไหน เช่น
The man who went to the party with Mary last night was killed.
(ผู้ชายคนที่ไปงานเลี้ยงกับ Mary เมื่อคืนนี้ถูกฆ่า)
Defining Relative Clauses จะมีลักษณะดังนี้
1. ทำหน้าที่คล้ายคำคุณศัพท์ (Adjectives) เพื่อไปขยายนามที่อยู่ข้างหน้า
ให้ได้ใจความสมบูรณ์และชัดเจนขึ้นว่า หมายถึง คนไหน สิ่งไหน ของใคร เป็นต้น
2. ไม่มีเครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่างนามกับ Defining Relative Clauses
3. จะขึ้นต้นด้วยคำสรรพนาม (Pronouns) ดังนั้นคำสรรพนามที่ขึ้นต้น Defining Relative Clauses จึงเรียกว่า Relative Pronouns ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับนามที่ขยาย เช่น ถ้า Defining Relative Clauses ขยายนามที่เป็นคน Relative Pronouns ก็ต้องเป็นคำที่ใช้แทนคน ฯลฯ

Relative Pronouns ที่ขึ้นต้น Defining Relative Clauses จะต้องสอดคล้องกับนามที่มันขยาย ซึ่งจะมีหน้าที่อยู่ 3 ประการหลัก คือ
1. ทำหน้าที่เป็นประธาน มี 2 แบบ ได้แก่
1.1 ถ้าเป็นคน ให้ใช้ who หรือ that แต่นิยมใช้ who มากกว่า เช่น
The man who is singing is Mr. White.
(ผู้ชาย คนที่กำลังร้องเพลง คือ Mr. White)
(มาจาก The man is Mr. White. รวมกับ The man is singing.)
1.2 ถ้าเป็นสัตว์หรือสิ่งของ ให้ใช้ which หรือ that แต่นิยมใช้ which มากกว่า เช่น
The dog which is on the table is from America.
(สุนัข ตัวที่อยู่บนโต๊ะ มาจากอเมริกา)
(มาจาก The dog is from America. รวมกับ The dog is on the table.)
2. ทำหน้าที่เป็นกรรม มี 2 แบบ ได้แก่
2.1 ถ้าเป็นคน ให้ใช้ whom หรือ that แต่นิยมใช้ whom มากกว่าเช่น
The woman whom you saw yesterday is Mrs. White.
(ผู้หญิง คนที่คุณเห็นเมื่อวานนี้ คือ Mrs. White)
(มาจาก The woman is Mrs. White.รวมกับ You saw the woman yesterday.)
2.2 ถ้าเป็นสัตว์หรือสิ่งของ ให้ใช้ which หรือ that แต่นิยมใช้ which มากกว่า เช่น
I like the cat which Paul bought last week.
(ฉันชอบแมว ตัวที่ Paul ซื้อมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว)
(มาจาก I like the cat. รวมกับ Paul bought the cat last week.)
ถ้า Relative Pronoun ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยาที่ตามมา เราสามารถตัด Relative Pronoun นั้นออกไปได้ เช่น
The woman whom you saw yesterday is Mrs. White.
whom เป็นกรรมของ saw ดังนั้นประโยคนี้ สามารถพูดได้อีกแบบหนึ่งว่า
The woman you saw yesterday is Mrs. White.
I like the cat which Paul bought last week.
Which เป็นกรรมของ bought ดังนั้นประโยคนี้ สามารถพูดได้อีกแบบหนึ่งว่า
I like the cat Paul bought last week.
3. ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ มี 2 แบบ ได้แก่
3.1 ถ้าเจ้าของเป็นคน ให้ใช้ whose เช่น
The boy whose bicycle is red is Tom.
(เด็กผู้ชาย คนที่จักรยานของเขาสีแดง คือ Tom)
(มาจาก The boy is Tom. รวมกับ The boy's bicycle is red.)
3.2 ถ้าเจ้าของเป็นสัตว์หรือสิ่งของ ให้ใช้ of which เช่น
The dog of which the tail is long is Pong-Pong.
(สุนัข ตัวที่หางของมันยาว คือ Pong-Pong)
(มาจาก The dog is Pong-Pong. รวมกับ The tail of the dog is long.)
คลิกที่นี่หากต้องการทำแบบทดสอบ

Tense 12


Tense
Tense   คือรูปแบบ(หรือโครงสร้าง)ของกริยา  ที่แสดงให้เราทราบว่า  การกระทำหรือเหตุการ นั้นๆเกิดขึ้นเมื่อใด   ซึ่งเรื่อง  tense  นี้เป็นเรื่องสำคัญ  ถ้าเราใช้    tense  ไม่ถูก  เราก็จะสื่อภาษากับเขา ไม่ได้  เพราะในประโยคภาษาอังกฤษนั้นจะอยู่ในรูปของ  tense  เสมอ  ซึ่งต่างกับภาษาไทยที่เราจะมีข้อความบอกว่าาเกิดขึ้นเมื่อใดมาช่วยเสมอ   แต่ภาษาอังกฤษจะใช้รูป  tense  นี้มาเป็นตัวบอก  ดังนี้การศึกษาเรื่อง  tense  จึงเป็นเรื่องจำ เป็น.
Tense  ในภาษาอังกฤษนี้จะแบ่ง ออกเป็น  3  tense  ใหญ่ๆคือ
               1.     Present   tense        ปัจจุบัน
               2.     Past   tense              อดีตกาล
               3.     Future   tense          อนาคตกาล
ในแต่ละ  tense ยังแยกย่อยได้  tense  ละ  4  คือ
              1 .   Simple   tense    ธรรมดา(ง่ายๆตรงๆไม่ซับซ้อน).
              2.    Continuous  tense    กำลังกระทำอยู่(กำลังเกิดอยู่)
              3.     Perfect  tense     สมบูรณ์(ทำเรียบร้อยแล้ว).
              4.     Perfect  continuous  tense  สมบูรณ์กำลังกระทำ(ทำเรียบร้อยแล้วและกำลัง ดำเนินอยู่ด้วย).


โครงสร้างของ  Tense  ทั้ง  12  มีดังนี้
Present  Tense
                      [1.1]   S  +  Verb  1  +  ……(บอกความจริงที่เกิดขึ้นง่ายๆ ตรงๆไม่ซับซ้อน).
[Present]       [1.2]   S  +  is, am, are  +  Verb  1  ing   +  …(บอกว่าเดี๋ยวนี้กำลังเกิดอะไร อยู่).
                      [1.3]   S  +  has, have  +  Verb  3 +  ….(บอกว่าได้ทำมาแล้วจนถึง ปัจจุบัน).
                      [1.4]   S  +  has, have  +  been  +  Verb 1 ing  + …(บอกว่าได้ทำมาแล้วและกำลังทำ ต่อไปอีก).
Past Tense
                      [2.1]  S  +  Verb 2  +  …..(บอกเรื่องที่เคยเกิดมาแล้วใน อดีต).
[Past]            [2.2]  S  +  was, were  +  Verb 1  +…(บอกเรื่องที่กำลังทำอยู่ในอดีต).
                      [2.3]  S  +  had  +  verb 3  +  …(บอกเรื่อที่ทำมาแล้วในอดีตใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).
                      [2.4]  S  +  had  +  been  +  verb 1 ing  + …(บอกเรื่องที่ทำมาแล้วอย่างต่อ เนื่องไม่หยุด).
Future Tense
                      [3.1]  S  +  will, shall  +  verb 1  +….(บอก เรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต).
[Feature]        [3.2]  S  +  will, shall  +  be  +  Verb 1 ing  + ….(บอกว่าอนาคตนั้นๆกำลังทำอะไร อยู่).
                      [3.3]  S  +  will,s hall  +  have  +  Verb 3  +…(บอกเรื่องที่จะเกิดหรือสำเร็จ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง).
                      [3.4]  S  +  will,shall  +  have  +  been  + verb 1 ing  +.. ..(บอกเรื่องที่จะทำอย่างต่อเนื่องในเวลาใด -  เวลาหนึ่งในอนาคตและ จะทำต่อไปเรื่อยข้างหน้า).  
                
หลักการใช้แต่ละ  tense  มีดังนี้
              [1.1]   Present  simple  tense    เช่น    He  walks.   เขาเดิน,
1.    ใช้กับ เหตุการที่เกิดขึ้นตามความจริงของธรรมชาติ และคำสุภาษิตคำ พังเพย.    
2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในขณะที่พูด  (ก่อนหรือหลังจะไม่จริงก็ตาม).
3.    ใช้กับกริยาที่ทำนานไม่ได้   เช่น  รัก,  เข้าใจ, รู้  เป็นต้น.
4.    ใช้กับการกระทำที่คิดว่าจะเกหิดขึ้นในอนาคตอันใกล้(จะมีคำวิเศษณ์บอกอนาคตร่วมด้วย).
5.    ใช้ในการเล่าสรุปเรื่องต่างๆในอดีต  เช่นนิยาย นิทาน.
6.    ใช้ในประโยคเงื่อนไขในอนาคต    ที่ต้นประโยคจะขึ้นต้น ด้วยคำว่า    If    (ถ้า),       unless   (เว้นเสียแต่ว่า),    as  soon  as  (เมื่อ,ขณะที่),    till  (จนกระทั่ง) ,   whenever   (เมื่อไรก็ ตาม),    while  (ขณะที่)   เป็นต้น.
7.    ใช้กับเรื่องที่กระทำอย่างสม่ำเสมอ  และมีคำวิเศษณ์บอกเวลาที่สม่ำเสมอร่วมอยู่ด้วย  เช่น  always (เสมอๆ),  often   (บ่อยๆ),    every  day   (ทุกๆวัน)    เป็นต้น.
8.    ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น  [1.1]  ประโยคตามต้องใช้   [1.1]  ด้วยเสมอ.


[1.2]   Present  continuous  tense   เช่น   He  is  walking.  เขากำลังเดิน.
1.    ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในขณะที่พูด(ใช้  now ร่วมด้วยก็ได้ โดยใส่ไว้ต้น ประโยค, หลังกริยา หรือสุดประโยคก็ ได้).
2.    ใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังกระทำอยู่ในระยะเวลาอันยาวนาน  เช่น  ในวันนี้ ,ในปีนี้ .
3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ผู้พูดมั่นใจว่าจะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้  เช่น เร็วๆนี้, พรุ่งนี้.
*หมายเหตุ   กริยาที่ทำนานไม่ได้  เช่น  รัก ,เข้าใจ, รู้, ชอบ  จะนำมาแต่งใน  Tense  นี้ไม่ได้.

            [1.3] Present perfect tense เช่น He has walk เขาได้เดินแล้ว.
1.    ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน  และจะมีคำว่า Since  (ตั้งแต่) และ for  (เป็นเวลา) มาใช้ร่วมด้วยเสมอ.
2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยทำมาแล้วในอดีต (จะกี่ครั้งก็ได้ หรือจะทำอีกใน ปัจจุบัน หรือจะทำในอนาคต ก็ได้)และจะมีคำ ว่า  ever  (เคย) ,  never  (ไม่เคย) มาใช้ร่วมด้วย.
3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่จบลงแล้วแต่ผู้พูดยังประทับใจอยู่ (ถ้าไม่ประทับใจก็ใช้   Tense
4.    ใช้กับ เหตุการที่เพิ่งจบไปแล้วไม่นาน(ไม่ได้ประทับใจอยู่) ซึ่งจะมีคำเหล่านี้มาใช้ร่วมด้วยเสมอ คือ  Just   (เพิ่งจะ), already  (เรียบร้อยแล้ว), yet  (ยัง), finally  (ในที่สุด)  เป็นต้น.



   [1.4] Present  perfect  continuous  tense    เช่น  He  has  been  walking .  เขาได้กำลังเดินแล้ว.
*  มีหลักการใช้เหมือน  [1.3]  ทุกประการ เพียงแต่ว่าเน้นว่าจะทำต่อไปในอนาคตด้วย    ซึ่ง [1.3] นั้นไม่เน้นว่าได้กระทำอย่างต่อเนื่องหรือไม่  ส่วน [1.4]  นี้เน้นว่ากระทำมาอย่างต่อเนื่องและจะกระทำต่อไปในอนาคตอีกด้วย.

             [2.1] Past  simple  tense      เช่น  He  walked.  เขาเดิน แล้ว.
1.   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงแล้วในอดีต   มิได้ต่อเนื่องมาถึงขณะ ที่พูด และมักมีคำต่อไปนี้มาร่วมด้วยเสมอในประโยค เช่น  Yesterday, year  เป็นต้น.
2.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ทำเป็นประจำในอดีตที่ผ่านมาในครั้งนั้นๆ ซึ่งต้องมีคำวิเศษณ์บอกความถี่ (เช่น Always, every  day ) กับคำวิเศษณ์ บอกเวลา (เช่น  yesterday,  last  month )  2  อย่างมาร่วมอยู่ด้วยเสมอ.
3.    ใช้กับเหตุการณ์ที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต  แต่ปัจจุบันไม่ได้เกิด อยู่ หรือไม่ได้เป็นดั่งในอดีตนั้นแล้ว  ซึ่งจะมีคำว่า  ago  นี้ร่วมอยู่ด้วย.
4.      ใช้ในประโยคที่คล้อยตามที่เป็น [2.1]  ประโยคคล้อยตามก็ต้อง เป็น [2.1]  ด้วย.

        [2.2]   Past continuous  tense   เช่น    He  was  walking .  เขากำลังเดินแล้ว
1.     ใช้กับเหตุการณ์   2   อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน  { 2.2  นี้ไม่นิยมใช้ตามลำพัง - ถ้าเกิดก่อนใช้  2.2   -  ถ้าเกิดทีหลังใช้ 2.1}.
2.     ใช้กับเหตุการณ์ที่ ไดกระทำติดต่อกันตลอดเวลาที่ได้ระบุไว้ในประโยค  ซึ่งจะมีคำบอกเวลาร่วมอยู่ด้วยในประโยค  เช่น  all  day  yesterday  etc.
3.     ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่กำลังทำในเวลาเดียวกัน(ใช้เฉพาะกริยาที่ทำได้นานเท่านั้น  หากเป็นกริยาที่ทำนานไม่ได้ก็ใช้หลักข้อ 1 ) ถ้าแต่งด้วย 2.1  กับ  2.2  จะดูจืดชืดเช่น   He  was  cleaning  the  house  while  I was  cooking  breakfast.

         [2.3]   Past  perfect  tense    เช่น  He  had walk.  เขาได้เดินแล้ว.
1.    ใช้กับ เหตุการณ์  2  อย่างที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต  มีหลักการใช้ดังนี้.
เกิดก่อนใช้  2.3  เกิดทีหลังใช้  2.1.
2.     ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำอันเดียวก็ได้ในอดีต แต่ต้องระบุชั่วโมงและวันให้แน่ชัดไว้ในทุกประโยคด้วยทุกครั้ง  เช่น   She  had  breakfast  at  eight o’ clock  yesterday.

        [2.4]   past  perfect  continuous  tense    เช่น   He  had  been  walking.
           มีหลักการใช้เหมือนกับ  2.3  ทุกกรณี  เพียงแต่  tense  นี้  ต้องการย้ำถึงความต่อเนื่องของการกระทำที่ 1  ว่าได้กระทำต่อเนื่องไปจนถึงการกระทำที่  2  โดยมิได้หยุด  เช่น  When  we  arrive  at  the  meeting ,  the  lecturer  had  been  speaking  for  an  hour  .   เมื่อพวกเราไปถึงที่ ประชุม  ผู้บรรยายได้พูดมาแล้ว เป็นเวลา 1  ชั่วโมง.



  [3.1]   Future  simple  tense      เช่น   He  will  walk.    เขาจะเดิน.
              ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งจะมีคำว่า  tomorrow,  to  night,  next  week,  next  month   เป็นต้น  มาร่วมอยู่ด้วย.
           * Shall   ใช้กับ     I    we.
             Will    ใช้กับบุรุษที่  2  และนามทั่วๆไป.
             Will,  shall  จะใช้สลับกันในกรณีที่จะให้คำมั่นสัญญา, ข่มขู่บังคับ, ตกลงใจแน่วแน่.
             Will,  shall   ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือจงใจก็ได้.
             Be  going  to  (จะ)  ใช้กับความจงใจของมนุษย์ เท่านั้น  ห้ามใช้กับเหตุการณ์ของธรรมชาติและนิยมใช้ใน ประโยคเงื่อนไข.

       [3.2]    Future   continuous    tense    เช่น   He  will  be  walking.    เขากำลังจะ เดิน.
1.     ใช้ในการบอกกล่าวว่าในอนาคตนั้นกำลังทำอะไรอยู่ (ต้องกำหนดเวลาแน่นอน ด้วยเสมอ).
2.     ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต  มีกลักการใช้ดังนี้.
               -   เกิดก่อนใช้    3.2      S  +  will  be,  shall  be  +  Verb 1  ing.
                -  เกิดทีหลังใช้   1.1     S  +  Verb  1 .


        [3.3]   Future   prefect  tens    เช่น  He  will  walked.  เขาจะได้เดินแล้ว.
1.  ใช้กับเหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นหรือสำเร็จลงในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต  โดยจะมีคำว่า  by  นำหน้ากลุ่มคำที่บอกเวลา ด้วย  เช่น   by  tomorrow  ,   by  next  week   เป็น ต้น.
2.  ใช้กับเหตุการณ์  2  อย่างที่จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอนาคต มีหลักดังนี้.
              -      เกิดก่อนใช้   3.3      S  +  will, shall  +  have  +  Verb 3.
-         เกิด ที่หลังใช้   1.1    S  +  Verb 1 .

        [3.4]  Future  prefect  continuous  tense เช่น He  will  have  been  walking. เขาจะได้กำลัง เดินแล้ว.
          ใช้เหมือน  3.3  ต่างกันเพียงแต่ว่า  3.4  นี้เน้นถึงการกระทำที่  1  ได้ทำต่อเนื่องมาจนถึงการกระทำที่  2  และจะกระทำต่อไปในอนาคต อีกด้วย.
           *   Tense  นี้ไม่ค่อยนิยมใช้บ่อย นัก  โดยเฉพาะกริยาที่ทำนาน ไม่ได้ อย่านำมาแต่งใน  Tense  นี้เด็ดขาด.
จบเรื่อง  Tense